วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ในหลวงกับไอทีในสมัยยังทรงพระเยาว์

เป็นที่ทราบกันในหมู่ข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด ก่อนที่เรื่องราวต่างๆจะถูกถ่ายทอดสู่ปวงชนชาวไทยทั่วไปอย่างกว้างขวางว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงสนพระทัยในกิจการด้านการสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง ไม่น้อยกว่าการกีฬา , ดนตรี , จิตรกรรม , ถ่ายภาพ, พระราชนิพนธืแปลและพระราชกรณีกิจอื่นๆ อีกมากมายในฐานะพสกนิกรในพระองค์ ชาวไทยมักจะเห็นพระองค์พระราชดำเนินไปยังถิ่นทุรกันดาร ไม่ว่าทางภาคเหนือ อีสานหรือใต้พร้อมกับวิทยุสื่อสารกล้องแผนที่ซึ่งพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในหลวงของพวกเรา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้สนพระทัยในการสื่อสารและเทคโนโลยียิ่งนักมีหนังสือหลายฉบับได้ประมวลเรื่องราวไว้โดยละเอียด ซึ่งขอหยิบยกมาถ่ายทอดอย่างย่นย่อ ดังนี้ในหลวงทรงใช้เครื่องรับส่งวิทยุ ชนิดมือถือ(walkie talkieradio)มานาน ประมาณพุทธศักราช ๒๕๑๑ ทรงใช้วิทยุสองครั้งด้วยกันครั้งแรก ทรงใช้คราวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับยังพระราชวังไกลกังวลหัวหินครั้งที่สอง เนื่องมาจากไฟฟ้าในพระราชวังสวนจิตรลดาดับหมด โทรศัพท์ใช้ไม่ได้เมื่อทรงพระเยาว์ความสนพระทัยในเทคโนโลยีสื่อสารเริ่มตั้งแต่สมัยทรงพระเยาว์ ขณะประทับอยู่ที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงรับสั่งว่าสมัยนั้นพระองค์สนพระทัยทางวิชาไฟฟ้า ทรงนำเงินค่าขนมที่เก้บหอมรอมริบใส่กระปุกเอาไว้มาซื้อรถไฟฟ้าของเด็กเล่นทรงนำมาทดลองเป็นเบื้องแรกพอทรงเจริญวัยก็เริ่มใส่พระทัย เกี่ยวกับการส่งและรับวิทยุกระจายเสียง สมัยนั้นเครื่องส่งเป็นชนิด
     
ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงจับฉลาก ได้ลวดหนวดแมวมาชิ้นหนึ่ง จึงทรงนำพระราชทรัพย์ไปซื้ขดลวด , คอนเดนเซอร์และหูฟัง ทรงนำมาประกอบขึ้นเป็นวงจรเครื่องรับปรากฎว่าเครื่องรับนั้น สามารถหมุนหาคลื่นวิทยุในยุโรปและรับฟังได้ชัดเจนทุกสถานีความสนพระทัยในด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมไฟฟ้า ต่อมาจึงได้ทรงตัดสินพระทัยจะเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย โลซานน์ แต่เนื่องจากต้องเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเสียก่อน การศึกษาจึงระงับไปโดยปริยาย กระนั้นก็ยังทรงค้นคว้าและทดลองสืบมาSRARK GAP สำหรับเครื่องรับเป็นเครื่องแร่ไม่มีหลอดวิทยุคลื่นส่งเป็นคลื่นยาว (LONG WAVE หรือ LF) และคลื่นกลาง (MEDIUM WAVE หรือ MF) องค์ประกอบของเครื่องรับชนิดแร่ ก็มีแร่ชนิดลวดหนวดแมว , ขดลวด , คอนเดนเซอร์และหูฟัง วิทยุและสายอากาศเกี่ยวกับวิทยุที่เกริ่นไว้ช่วงแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฟังและติดต่อ "ปทุมวัน" และ "ผ่านฟ้า" เป็นบางครั้งบางคราวการรับฟังย่านวิทยุของตำรวจ ทำให้ทรงทราบข่าวต่างๆ อย่างรวดเร็ว อาทิ อัคคีภัย โจรกรรม และ การจราจร เป็นต้นพระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ผู้ที่ติดต่อไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์ และทรงจำ "โค้ด ว." ต่างๆได้อย่างแม่นยำและทรงใช้ภาษาธรรมดา ๆ กับพนักงานวิทยุ สถานีวิทยุกองกำกับการตำรวจต่างๆ เพื่อพระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับการปฎิบัติการสื่อสารบางประการที่ทอดพระเนตรเห็นว่ายังบกพร่องผิดพลาดพระองค์ทรงให้สัญญาณเฉพาะพระองค์ว่า "กส.5" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้ติดตั้งเครื่องรับ-ส่งวิทยุไว้ในห้องทรงงาน ในพระราชตำหนักจิตรลดารโหฐาน และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ติดตั้งสายอากาศนานาชนิดถวาย อาทิ GROUN PLANE , HIGHGAIN, และ J-POLEพร้อมทรงศึกษาอย่างเข้าพระทัยในการทำงานของสายอากาศชนิดต่างๆตลอดจนคุณลักษณะอื่น โดยเฉพาะเกี่ยวกับ GAIN และ RADIATI-ON-PAT-TERN
จากนั้นทรงทดสอบผลการรับฟังตามจุดต่างๆโดยรอบพระราชวังสวนจิตรลดา ภายในรัศมี1 กิโลเมตรและทรงพบว่าสัญญาณที่รับได้ ไม่มีเฉพาะสัญญาณจากสถานีพระองค์อย่างเดียว แต่มีสัญญาณสะท้อนมาจากบ้านเรือนโดยรอบด้วย  ทรงทดลองและให้แนวพระราชดำริในการพัฒนาสายอากาศไว้มากมาย

  



อ้างอิง
 http://www.ptu.ac.th/test/Nopparut_HWN/king'ssubport.html  การสนับสนุนของในหลวงด้านการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์

ในหลวงกับการสื่อสารในด้านต่าง ๆ


ข้อความเหล่านี้คัดตัดตอนมาจาก คำบรรยายประกอบการอัญเชิญภาพยนตร์ ส่วนพระองค์ที่ได้บันทึกพระราชกรณียกิจ ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 โดยนำเสนอในรูปวีดี ทัศน์ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตรเนื่องในงาน "ไอทีเฉลิมพระเกียรติ" ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2538
เรื่องการเดินทางจากประเทศไทยสู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) การเดินทางโดยเครื่องบินจากกรุงเทพฯ ถึงสวิส ใช้เวลาบิน 3 คืน 4 วัน คืนที่หนึ่งแวะซีลอน คืนที่สองแวะการาจี คืนที่สามไคโร วันที่สี่จึงถึงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันบินรวดเดียว ใช้เวลาสิบเอ็ดชั่วโมงก็ถึงแล้ว ฉะนั้นการติดต่อรับข่าวสาร จดหมาย หรือข่าวสารทางหนังสือพิมพ์ที่ส่งจากประเทศ ไทยใช้เวลานาน ถ้าจะเทียบกับปัจจุบันมีข่าวสารผ่านดาวเทียม ยิ่งเวลาทางประเทศยุโรปช้ากว่าประเทศไทยประมาณหกชั่วโมง อเมริกาสิบสองชั่วโมง อะไรที่เกิดขึ้นในบ้านเราวันนี้ ทางประเทศยุโรปหรืออเมริกาก็ทราบข่าวนั้นๆ ในวันเดียวกัน
ส่วนที่มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นวิวัฒนาการในเรื่องความเร็วของเครื่องบิน วิวัฒนาการในการส่งข่าวคราว วิวัฒนาการในการแข่งขันกันเป็นที่หนึ่งในโลกที่โลกถือว่าสำคัญนั้น ก็คือความเป็นห่วงบ้านเมือง และประชาชนคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะทรงพัฒนาให้ประชาชน และประเทศชาติมีความเจริญมั่นคง ตามที่เคยมีประชาชนร้องออกมาดังๆ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงกลับไปศึกษาต่อเมื่อทรงรับภาระปกครองประเทศแล้วนั้นว่า "อย่าละทิ้งประชาชน" ได้พระราชทานคำตอบผ่านหนังสือวรรณคดีว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะละทิ้งอย่างไรได้" กาลเวลาที่ทรงครองราชย์ 50 ปี ได้พิสูจน์แล้วว่าพระองค์มิได้ทรงละทิ้งประชาชนของพระองค์เลย
ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับที่ประเทศสวิส ก็มีประชาชนส่งข่าวและข่าวจากหนังสือพิมพ์ต่างๆ แสดงความห่วงใย จึงทรงหาทางเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องตลอดเวลาผ่านหนังสือวรรณคดี และหนังสือพิมพ์แสตน์ดาร์ดภาษาอังกฤษ ทำให้ประชาชนที่ประเทศไทยคลายความกังวลได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของข่าวสาร จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ "องคต" ทำหน้าที่สื่อข่าวถึงประชาชนชาวไทยในประเทศตลอดเวลาที่เสด็จประทับอยู่ ณ โลซานน์
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน คราวที่ทำการต่อเติมพระตำหนักจิตรลดา รัฐบาลได้รับน้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องส่งวิทยุคลื่นยาวและคลื่นสั้นขนาดกำลังส่ง 100 วัตต์ พระราชทานชื่อสถานีวิทยุว่า สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้สถานีวิทยุให้เป็นประโยชน์สำหรับประชาชนทั่วประเทศ เมื่อเริ่มตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ใหม่ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปรับเครื่องส่งวิทยุเอง ทรงจัดรายการและทรงเปิดแผ่นเสียงเอง ทรงบันทึกเสียงรายการวงดนตรีของ นักเรียนโรงเรียนสอนคนตาบอด วงดนตรีไทย วงข้าราชบริพาร เป็นต้น โปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชนมาบรรยายเพื่อเป็นวิทยาทาน
ส่วนวงดนตรีไทยและวงดนตรีของทางราชการ เช่น วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ วงดนตรีกรมศิลปากร กองทัพบก >กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจ โรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ได้มาบรรเลงที่ห้องส่งของสถานีวิทยุ อ.ส. และในรายการ ดนตรีสำหรับประชาชนที่เวทีสวนอัมพรในวันพุธบ่าย และวันอาทิตย์เช้าถึงเที่ยง ตั้งแต่ยังไม่มีโทรทัศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาเห็นว่า นักเรียนต้องคร่ำเคร่งกับการเรียนตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ สมควรจะได้มีการพักผ่อนระหว่างอาทิตย์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิตจัดรายการดนตรีขึ้นในวันพุธบ่าย สามารถลดการนัดชุมนุมของนักเรียนที่ตีกันระหว่างโรงเรียนลงมาได้อย่างมาก นับว่าได้ผลอย่างยิ่ง เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชนทั่วทุกภาคของประเทศ สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต ก็ร่วมกับสถานีวิทยุ จ.ส. กรมการทหารสื่อสาร ถ่ายทอดการเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง ทำให้ประชาชนในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ได้ยินได้ฟังพระสุรเสียงที่ได้พระราชทานแก่ประชาชนในจังหวัดนั้นๆ ด้วย
ในปี พ.ศ. 2495 เกิดโรคโปลิโอระบาด ภาษาไทยเรียกว่า ไข้ไขสันหลังอักเสบ พอเป็นแล้วจะมีอาการหายใจไม่ออก ต้องใช้ปอดเหล็กช่วย ต้องมาฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ ต้องใช้เครื่องพยุงออกกำลังกล้ามเนื้อด้วยการว่ายน้ำและลงอ่างอาบน้ำอุ่น เพื่อใช้ความแรงของน้ำกระตุ้นกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้นด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสถานที่ฟื้นฟูบำบัด โรคโปลิโอ พระราชทานพระนามของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ว่า ตึกวชิราลงกรณ์ธาราบำบัด และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต เชิญชวนประชาชนโดยเสด็จพระราชกุศล หรือพูดง่ายๆ ว่า ทำบุญร่วมกับในหลวง ประชาชนก็หลั่งไหลนำเงินมาทูลเกล้าฯ ถวายมากมายเพื่อใช้ในการบำบัดรักษาจนโรคนั้นหายไป
พระราชนิพนธ์แปลเรื่อง "นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ" และเรื่อง "ติโต" ก็เป็นสื่อทางการพิมพ์เรื่อง "นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ" แสดงให้เห็นถึงความเสียสละของบุคคลตัวอย่าง ที่มีความกล้าหาญ เสียสละ ยอมอุทิศแม้ชีวิตเพื่อความถูกต้อง ยุติธรรม เสรีภาพและสันติภาพ โดยไม่หวังให้ใครรับรู้ หรือหวังในลาภยศหรือคำสรรเสริญเยินยอใดๆ ทั้งสิ้น นายอินทร์คือตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของ "ผู้ปิดทองหลังพระ"
พระราชนิพนธ์แปลอีกเรื่องคือ "ติโต" ติโตเป็นผู้ทำให้ประเทศยูโกสลาเวีย ซึ่งประกอบด้วยชนชาติที่แตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ให้มารวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นประเทศยูโกสลาเวียได้ และในยามวิกฤตสามารถแก้ไขให้ผ่านพ้น ทั้งรักษาความสมบูรณ์ เพิ่มพูนความเจริญของประเทศตลอดชีวิตของติโต
เมื่อติโตสิ้นชีวิตแล้ว ปัจจุบันนี้เหตุการณ์ทุกข์เข็ญที่เกิดจากความแตกแยกของเผ่าต่างๆ ภายในประเทศ และศัตรูภายนอกประเทศ ดังเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ว่า ขาดผู้ปกครองอย่างติโตแล้วเป็นอย่างไร
สื่อทางหนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ รวมทั้งช่างภาพและนักข่าว ได้เผยแพร่ข่าวสารในเรื่องพระราชกรณียกิจ ในด้านงานพระราชพิธีพระราชกิจต่างๆ และบรรดาผู้มีส่วนในการพระราชกุศลต่างๆ ขอยกตัวอย่างเรื่องที่สื่อมวลชนแพร่ข่าวของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เมื่อเหตุการณ์ทุกข์ภัยเกิดขึ้น ก็ลงข่าว ติดตามข่าว เผยแพร่ข่าว เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเชิญชวนให้ประชาชน โดยเสด็จพระราชกุศล เป็นการทำบุญร่วมกับในหลวง แล้วเผยแพร่และติดตามในเรื่องความ ช่วยเหลือจนถึงมือผู้ที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น ข่าวการจัดตั้งโรงเรียนในจังหวัดต่างๆ การมอบทุนพระราชทานการศึกษาประจำปี ทำให้ประชาชนทราบผลงานของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพราะสามารถสะท้อนความรู้สึกของผู้ที่รับความช่วยเหลืออย่างลึกซึ้ง ประทับตาประทับใจ ทำให้ผู้อ่าน ผู้ฟัง และผู้ชมภาพมีความชื่นชมยินดีที่เห็นภาพ และทราบว่าของที่เขาทำบุญร่วมกับในหลวงนั้นถึงมือผู้รับแล้ว
ทั้งยังเคยพระราชทานคำแนะนำช่างภาพและนักข่าวในเรื่อง การถ่ายภาพในพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น เมื่อมีการพระราชทานเลี้ยงพระราชอาคันตุกะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 สี่สิบปีที่ผ่านมา เช่น สถานที่คับแคบก็ต้องมีพูล ร่วมกันทำทุกสถานีพร้อมกัน ทำให้ช่างภาพและผู้สื่อข่าวทำงานได้น้อยคน และช่างภาพควรจะต้องทำหน้าที่นักข่าวไปในตัวด้วย หรือควรถ่ายภาพในระยะไกลพอสมควร เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ ทรงยกระดับช่างภาพจากสมัยก่อนใช้คำว่า ควบคุมช่างภาพ ปัจจุบันใช้คำว่าอำนวยความสะดวกช่างภาพ
ดนตรีเป็นภาษาสากล ทุกชาติ ทุกประเทศมีดนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ดนตรีเป็นสื่อตั้งแต่ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัย วงดนตรีทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ รวมทั้งส่วนราชการต่างๆ และวงดนตรีเอกชน ทรงพระราชนิพนธ์ "เพลงสากล" และอนุรักษ์เพลงไทยมิให้เสื่อมสูญ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อคราวเสด็จเยือนต่างประเทศ ทรงใช้ดนตรีเป็นสื่อในการกระชับ สัมพันธไมตรีได้อย่างดีเลิศ
โปรดให้มีช่างภาพส่วนพระองค์ตั้งแต่เสด็จนิวัติกรุงเทพมหานคร หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนนั้นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงบันทึกพระราชประวัติไว้ ทั้งภาพนิ่งและภาพยนตร์ 16 มม. ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927)
ทรงกำหนดวิธีการจัดเก็บแถบบันทึกภาพ บันทึกเสียง ฟิลม์ ฯลฯ ด้วยพระองค์เองเป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถค้นหาได้โดยสะดวก แม้แต่การปรู๊ฟฟิล์มภาพนิ่งขนาด 35 มม. สามารถที่จะเลือกรูปได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะใช้ระบบไมโครฟิล์มกัน วิธีปรู๊ฟมีเลขหมายบันทึกนำปรู๊ฟขึ้นมาเลือกโดยใช้แว่นขยาย แทนที่จะต้องมีเครื่องฉายไมโครฟิลม์
สื่อมวลชน ทั้งภาพนิ่ง และภาพยนตร์ ดังกล่าว ได้มีผู้ขอพระราชทานถ่ายทอดไปไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติ และเผยแพร่เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียติคุณ
เรื่องการสร้างคน
ทรงสร้างคนหลายระดับเพื่อช่วยบริหารกิจการด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนประเทศชาติในปัจจุบัน และอนาคต ตั้งแต่ :- ระดับมันสมองของประเทศ ทรงตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล มีผู้สำเร็จมาแล้วและได้ทำประโยชน์ เช่น คุณหมอจรัส สุวรรณเวลา, ดร. ปราโมทย์ ไม้กลัด, คุณหมอประเวศ วะสี, ท่านผู้หญิงศรีจิตรา ระดับผู้ที่ประสบภัยพิบัติจากสาธารณภัย จากคนที่หมดหวังไปสู่ความหวังที่สำเร็จบริบูรณ์ โดยช่วยตนเองและครอบครัวได้ ไม่เป็นภาระต่อสังคม บุคคลที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคเรื้อน ผู้หมดอาลัยตายอยากในชีวิต เพราะถือว่าเป็นโรคเวรโรคกรรม ให้มีใจเข้มแข็ง รับการรักษาจนหายจากโรค และรับการแก้ไขในเรื่องความพิการ นักเรียนหูหนวก ตาบอด สภากาชาด ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ

ในหลวงกับคอมพิวเตอร์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัยใฝ่รู้และทรงศึกษาอย่างจริงจัง ลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนาในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร การชลประทาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทรงเห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่ง ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในด้านส่วนพระองค์นั้น ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม เพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆ และทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่างๆ ทั้งยังทรงเคยประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเพื่อทรงอวยพรปวงชนชาวไทย
ความเป็นมาที่พระองค์ท่านทรงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์นั้น ม.ล.อัศนี ปราโมช ได้ตกลงใจซื้อคอมพิวเตอร์แมคอินทอชพลัส อันเป็นเครื่องที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ ม.ล.อัศนี เลือกเครื่องนี้ เพราะสามารถเก็บและพิมพ์โน้ตเพลงได้ การเรียนรู้และใช้งานไม่ยาก ทั้งยังอาจเชื่อมต่ออุปกรณ์พิเศษสำหรับเล่นดนตรีตามโน้ตเพลงที่เก็บไว้ได้ด้วย ตั้งแต่นั้น พระองค์ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานส่วนพระองค์ทางด้านดนตรี โดยทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการป้อนโน้ตเพลงและเนื้อร้อง พระองค์ท่านทรงศึกษาวิธีการใช้เครื่องและโปรแกรมที่เกี่ยวข้องด้วยพระองค์เอง
สำหรับเรื่องอักขระคอมพิวเตอร์หรือฟอนต์ (Font) นั้นเป็นที่สนพระราชหฤทัย ก็เพราะหลังจากที่พระองค์ท่านได้ทรงศึกษา และใช้คอมพิวเตอร์ทำโน้ต คือเมื่อประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ. 2529 และทรงทดลองใช้โปรแกรม "Fontastic" เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 สิ่งที่ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษคือการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยหลายแบบ เช่น แบบจิตรลดา แบบภูพิงค์ ฯลฯ ทรงสนพระทัยประดิษฐ์อักษรขนาดใหญ่ที่สุดจนถึงขนาดเล็กที่สุด นอกจากนี้ยังตั้งพระทัยในการประดิษฐ์อักษรภาษาอื่นๆ เพิ่มขึ้น คือภาษาสันสกฤต และทรงดำริจะประดิษฐ์อักษรภาษาญี่ปุ่น แต่ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มประดิษฐ์ รับสั่งว่าต้องใช้เวลามาก ต่อมาก็ได้ทรงหันมาศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์แสดงตัวเทวนาครีบนจอภาพ หรือที่พระองค์ท่าน ทรงเรียกว่า "ภาษาแขก" ซึ่งจัดทำได้ยากกว่าตัวอักษรภาษาไทย เพราะตัวอักษรเทวนาครีนั้นรูปแบบไม่คงที่ กล่าวคือ ถ้านำส่วนหนึ่งของอักษรนำมาต่อรวมกับอีกส่วนหนึ่งของอักษร จะเกิดอักษรใหม่ขึ้น และโปรแกรมที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นนั้นมีตัว phonetic symbols การสร้างตัวอักษรเทวนาครีนั้น ทรงเริ่มเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2530 ทรงศึกษาตัวอักษรเทวนาครีด้วยพระองค์เอง จากพจนานุกรมและตำราภาษาสันสกฤต และทรงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีสันสกฤต เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และท่านองคมนตรี ม.ล. จิรายุ นพวงศ์ ซึ่งจะต้องตรวจสอบตัวอักษรที่ทรงสร้างขึ้น พระองค์นำโปรแกรมออกแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 มีคำถามว่า เหตุใดพระองค์ท่านจึงทรงสนพระราชหฤทัยในตัวอักษรเทวนาครีหรือภาษาแขก เรื่องนี้มีผู้อธิบายไว้ว่า ในหลวงที่รักของพวกเรานั้น ทรงศึกษาข้อธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังและลึกซึ้ง การที่ทรงศึกษาตัวอักษรแขก ก็เพื่อเป็นการนำไปสู่ความเข้าใจด้านอักษรศาสตร์ และความเข้าใจในหัวข้อธรรมะนั่นเอง เรื่องนี้นับว่าพระองค์มีวิจารณญาณที่ลึกซึ้งยิ่งนัก เพราะคำสอนและข้อธรรมะในพุทธศาสนานั้น เดิมทีก็เกิดและเผยแพร่มาจากประเทศอินเดีย บรรดาธรรมะที่ลึกซึ้งและยากแก่ความเข้าใจ ก็อาจจะถูกตีความผันแปรบิดเบือนไปได้ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าลึกลงไปถึงภาษาแขก จึงน่าจะได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมะชัดเจนกระจ่างมากขึ้น
ต่อมาได้มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM PC Compatible และทรงสนพระทัยศึกษาในการพัฒนา Software ต่างๆ และได้สร้างโปรแกรมใหม่ๆ ขึ้นมา รวมทั้งสนพระทัยในเทคนิคการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบนี้มากทีเดียว บางครั้งทรงเปิดเครื่องออกดูระบบต่างๆ ภายในด้วยพระองค์เอง หรือทรงปรับปรุง Software ใหม่ขึ้นใช้ ทรงแก้ซอฟต์แวร์ในเครื่อง เช่น โปรแกรมภาษาไทย CU WRITER ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์
จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการพิมพ์ งานทรงพระอักษรส่วนพระองค์ และทรงเก็บงานเหล่านี้เป็นเรื่องๆ มาปะติดปะต่อกัน จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ และบทพระราชนิพนธ์ต่างๆ เช่น เรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นต้น ผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่พระองค์ทรงประดิษฐ์ก็คือ การใช้คอมพิวเตอร์ "ปรุง" อวยพรปีใหม่ เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่เดิมพระองค์ได้พระราชทานผ่านเครื่องเทเล็กซ์ นอกจากนี้พระองค์ทรงสนพระทัยคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก สังเกตได้จากขณะเสด็จพระราชดำเนินชมงานนิทรรศการต่างๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พระองค์สนพระทัยซักถามอาจารย์และนักศึกษาที่ประดิษฐ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ อย่างละเอียดและเป็นเวลานาน

พระราชกรณียกิจในด้าน IT

1. พระราชกรณียกิจด้านสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านการสื่อสารตั้งแต่ทรงพระเยาว์ "...ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับลำโพงขยาย ของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ 'Centrum' จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย..." (สุชาติ เผือกสกนธ์, วันสื่อสารแห่งชาติ : 2530)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงอุทิศพระองค์ พระอัจฉริยะและพระอุตสาหะทั้งมวล เพื่อราษฎรในทุกภูมิภาค พระองค์ทรงมีดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงขาดไม่ได้คือการสดับตรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน ดังเช่น ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฎรได้ทรงพบว่า มีผู้ใดที่กำลังป่วยเจ็บจำเป็นต้องบำบัดรักษา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ผู้ตามเสด็จดูแลตรวจรักษาทันที ในบางรายที่มีอาการป่วยหนัก จำเป็นต้องส่งตัวเข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอ พระองค์ท่านจะรับสั่งผ่านทางวิทยุถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน ขอรับการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เพื่อนำผู้ป่วยเจ็บส่งยังที่หมายปลายทางด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณหรือ Repeater ซึ่งเชื่อมต่อทางวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์ฯ ให้มูลนิธิแพทย์อาสาฯ (พอ.สว.) นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นห่างไกล
ในเรื่องการปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงพระราชทาน ในการปฏิบัติระยะแรกๆ ได้ประสบปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ไม่ทราบล่วงหน้า ซึ่งนักบินผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำแก้ไขโดยฉับพลัน เนื่องจากยังไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร กล่าวคือฝนไม่ตกในเป้าหมายบ้าง ตกน้อย หรือไม่ตกตามที่คิดบ้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสดับตรับฟังข่าวการปฏิบัติการฝนเทียมทุกครั้ง และทรงทราบถึงปัญหาสำคัญคือ การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน   นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF (วี.เอช.เอฟ) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ
ประการแรก เพื่อที่จะได้ใช้งานกับวิทยุส่วนพระองค์ ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน เรื่องไฟไหม้ เรื่องน้ำท่วม ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ประการที่สอง เพื่อที่จะพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ
ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้เองภายในประเทศ
          นอกเหนือจากวิทยุสื่อสารแล้ว ในเรื่องของเทเล็กซ์พระองค์ทรงสนพระทัยอยู่ไม่น้อย และสิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยทรงขาดคือ การพระราชทานพรปีใหม่ นอกจากจะทรงมีกระแสพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรไทยทางวิทยุและโทรทัศน์ทุกแห่งแล้ว พระองค์ท่านยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพรทางเทเล็กซ์สม่ำเสมอทุกปี แต่ในปัจจุบันท่านทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการประดิษฐ์บัตรอวยพรปีใหม่แทน
นอกจากนี้พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกประเภท, การสื่อสารเป็นหัวใจของความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยายเสียง และพระองค์ท่านก็ได้ทรงทดลองอุปกรณ์แบบใหม่นี้ด้วยเช่นกัน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. 2495 พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส. เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
สถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง 2 เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง 100 วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AM พร้อมๆ กัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่ กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายและติดตั้งให้ด้วยเมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง และในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟัง เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมันฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปี พ.ศ. 2525 สถานีวิทยุ อ.ส. ได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบ FM ขึ้นอีกระบบหนึ่ง ในการขยายด้านกำลังส่งนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนแต่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อให้สถานีวิทยุ อ.ส. สามารถบริการประชาชนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น อาจถือได้ว่าเป็นสถานีวิทยุเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถกระจายเสียงคลื่นสั้นได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์
พระองค์ทรงมีวัตถุประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์ ที่ทรงแสดงให้ทราบถึงใจรักที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับประชาชนทั่วทุกคน

          นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. 2495 อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. 2501 และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505 โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย ทำหน้าที่นายสถานี เล่าให้ฟังว่า นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานี ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ด้านสถานีด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงใช้นโยบายประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด และในปัจจุบันนี้สถานีวิทยุ อ.ส. ยังคงกระจายเสียงเป็นประจำทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยออกอากาศทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว ในระบบ AM 1332 KHzและ FM 104 MHz ควบคู่กันไปด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ โดยออกอากาศวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา 10.30-12.00 และ 16.00-19.00 วันอาทิตย์ เวลา 9.00-12.00 หยุดทุกวันจันทร์
ดาวเทียมไทยคมนับว่า เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมของไทยก้าวสู่ยุคแห่งความล้ำหน้า และได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการสนองพระราชดำริ ในเรื่องของการศึกษา คุณขวัญแก้ว วัชโรทัย เป็นผู้สนองพระราชภารกิจที่โรงเรียนไกลกังวล หัวหิน ซึ่งขณะนี้ได้พยายามที่จะนำเอาดาวเทียมไทยคม เข้าไปใช้ในกิจการด้านการเรียนการสอน เจตนารมณ์ดังกล่าว เป็นการสนองตอบความต้องการของประชาชน และเป็นการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัยอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการจัดการศึกษาใต้ร่มพระบารมีอย่างแท้จริง และที่สำคัญเพื่อเป็นการสนองพระบรมราโชบายทางการศึกษา ในอันที่จะทำให้โรงเรียนไกลกังวลเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาไทยคมอย่างแท้จริง
กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์ต่อประเทศชาติ ที่ได้มีพระราชดำริ ให้มีการพัฒนางานทางระบบวิทยุสื่อสารขึ้นในประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพราะสังคมปัจจุบันนั้น การสื่อสารก็เปรียบเสมือนกับระบบประสาทของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นจึงนับได้ว่า พระองค์ท่านนั้นมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงเห็นบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการสื่อสาร