วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ในหลวงกับไอทีในสมัยยังทรงพระเยาว์

เป็นที่ทราบกันในหมู่ข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด ก่อนที่เรื่องราวต่างๆจะถูกถ่ายทอดสู่ปวงชนชาวไทยทั่วไปอย่างกว้างขวางว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงสนพระทัยในกิจการด้านการสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง ไม่น้อยกว่าการกีฬา , ดนตรี , จิตรกรรม , ถ่ายภาพ, พระราชนิพนธืแปลและพระราชกรณีกิจอื่นๆ อีกมากมายในฐานะพสกนิกรในพระองค์ ชาวไทยมักจะเห็นพระองค์พระราชดำเนินไปยังถิ่นทุรกันดาร ไม่ว่าทางภาคเหนือ อีสานหรือใต้พร้อมกับวิทยุสื่อสารกล้องแผนที่ซึ่งพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในหลวงของพวกเรา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้สนพระทัยในการสื่อสารและเทคโนโลยียิ่งนักมีหนังสือหลายฉบับได้ประมวลเรื่องราวไว้โดยละเอียด ซึ่งขอหยิบยกมาถ่ายทอดอย่างย่นย่อ ดังนี้ในหลวงทรงใช้เครื่องรับส่งวิทยุ ชนิดมือถือ(walkie talkieradio)มานาน ประมาณพุทธศักราช ๒๕๑๑ ทรงใช้วิทยุสองครั้งด้วยกันครั้งแรก ทรงใช้คราวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับยังพระราชวังไกลกังวลหัวหินครั้งที่สอง เนื่องมาจากไฟฟ้าในพระราชวังสวนจิตรลดาดับหมด โทรศัพท์ใช้ไม่ได้เมื่อทรงพระเยาว์ความสนพระทัยในเทคโนโลยีสื่อสารเริ่มตั้งแต่สมัยทรงพระเยาว์ ขณะประทับอยู่ที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงรับสั่งว่าสมัยนั้นพระองค์สนพระทัยทางวิชาไฟฟ้า ทรงนำเงินค่าขนมที่เก้บหอมรอมริบใส่กระปุกเอาไว้มาซื้อรถไฟฟ้าของเด็กเล่นทรงนำมาทดลองเป็นเบื้องแรกพอทรงเจริญวัยก็เริ่มใส่พระทัย เกี่ยวกับการส่งและรับวิทยุกระจายเสียง สมัยนั้นเครื่องส่งเป็นชนิด
     
ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงจับฉลาก ได้ลวดหนวดแมวมาชิ้นหนึ่ง จึงทรงนำพระราชทรัพย์ไปซื้ขดลวด , คอนเดนเซอร์และหูฟัง ทรงนำมาประกอบขึ้นเป็นวงจรเครื่องรับปรากฎว่าเครื่องรับนั้น สามารถหมุนหาคลื่นวิทยุในยุโรปและรับฟังได้ชัดเจนทุกสถานีความสนพระทัยในด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมไฟฟ้า ต่อมาจึงได้ทรงตัดสินพระทัยจะเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย โลซานน์ แต่เนื่องจากต้องเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเสียก่อน การศึกษาจึงระงับไปโดยปริยาย กระนั้นก็ยังทรงค้นคว้าและทดลองสืบมาSRARK GAP สำหรับเครื่องรับเป็นเครื่องแร่ไม่มีหลอดวิทยุคลื่นส่งเป็นคลื่นยาว (LONG WAVE หรือ LF) และคลื่นกลาง (MEDIUM WAVE หรือ MF) องค์ประกอบของเครื่องรับชนิดแร่ ก็มีแร่ชนิดลวดหนวดแมว , ขดลวด , คอนเดนเซอร์และหูฟัง วิทยุและสายอากาศเกี่ยวกับวิทยุที่เกริ่นไว้ช่วงแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฟังและติดต่อ "ปทุมวัน" และ "ผ่านฟ้า" เป็นบางครั้งบางคราวการรับฟังย่านวิทยุของตำรวจ ทำให้ทรงทราบข่าวต่างๆ อย่างรวดเร็ว อาทิ อัคคีภัย โจรกรรม และ การจราจร เป็นต้นพระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ผู้ที่ติดต่อไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์ และทรงจำ "โค้ด ว." ต่างๆได้อย่างแม่นยำและทรงใช้ภาษาธรรมดา ๆ กับพนักงานวิทยุ สถานีวิทยุกองกำกับการตำรวจต่างๆ เพื่อพระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับการปฎิบัติการสื่อสารบางประการที่ทอดพระเนตรเห็นว่ายังบกพร่องผิดพลาดพระองค์ทรงให้สัญญาณเฉพาะพระองค์ว่า "กส.5" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้ติดตั้งเครื่องรับ-ส่งวิทยุไว้ในห้องทรงงาน ในพระราชตำหนักจิตรลดารโหฐาน และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ติดตั้งสายอากาศนานาชนิดถวาย อาทิ GROUN PLANE , HIGHGAIN, และ J-POLEพร้อมทรงศึกษาอย่างเข้าพระทัยในการทำงานของสายอากาศชนิดต่างๆตลอดจนคุณลักษณะอื่น โดยเฉพาะเกี่ยวกับ GAIN และ RADIATI-ON-PAT-TERN
จากนั้นทรงทดสอบผลการรับฟังตามจุดต่างๆโดยรอบพระราชวังสวนจิตรลดา ภายในรัศมี1 กิโลเมตรและทรงพบว่าสัญญาณที่รับได้ ไม่มีเฉพาะสัญญาณจากสถานีพระองค์อย่างเดียว แต่มีสัญญาณสะท้อนมาจากบ้านเรือนโดยรอบด้วย  ทรงทดลองและให้แนวพระราชดำริในการพัฒนาสายอากาศไว้มากมาย

  



อ้างอิง
 http://www.ptu.ac.th/test/Nopparut_HWN/king'ssubport.html  การสนับสนุนของในหลวงด้านการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น